จองคิวปรึกษา>> —แตะเพื่อจอง—
“1 ครอส 3 เดือน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง”
“ศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทย ภูมิรวิชญ์ ” ให้คำปรึกษาในการแก้ไขความพิการและการเคลื่นไหวของร่างกาย เช่น ขาอ่อนแรง เข่าเสื่อม กระดูกพรุน หมอนรองกระดูกทับเส้น หมอนรองคอกระดูกเสื่อม แขนอ่อนแรง เส้นเลือดตีบ แตก ชามือ ชาเท้า
สถานที่ : แผนที่
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) |
|
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD–10 | M15–M19, M47 |
ICD–9 | 715 |
OMIM | 165720 |
DiseasesDB | 9313 |
MedlinePlus | 000423 |
eMedicine | med/1682 orthoped/427 pmr/93 radio/492 |
MeSH | D010003 |
ข้อเสื่อม (อังกฤษ: Arthrosis, Osteoarthritis; OA) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมจากการใช้งานของข้อต่อ[1] ได้แก่ กระดูกอ่อนผิวข้อและมีการเจริญงอกเกินของกระดูก ซึ่งมักจะมีอาการปวดข้อ ข้อยึดติดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังไม่ได้ทำกิจกรรม เคลื่อนไหวข้อได้ลดลง อาจมีเสียงกรอบแกรบที่ข้อ อาจพบข้อบวมหรือข้ออักเสบได้ ข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด[2]
การรักษาโรคข้อเสื่อมทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ ลดน้ำหนัก ออกกำลังให้พอเหมาะไม่ใช้ข้อมากเกินไป เช่น การว่ายน้ำ การเดิน พักผ่อนให้เพียงพอ กายภาพบำบัดเพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้และให้กล้ามเนื้อมีกำลัง ส่วนการใช้ยาสามารถใช้พาราเซตามอลเพื่อระงับอาการปวด ซึ่งนับเป็นยาหลักที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ในแนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม[3] อาจใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ระงับอาการปวดและการอักเสบ ส่วนการใช้สเตอรอยด์ชนิดรับประทานไม่แนะนำเพราะมีผลข้างเคียงสูง แต่การฉีดสเตอรอยด์เข้าข้อช่วยระงับปวดในระยะสั้นเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน[4] การฉีดกรดไฮยาลูโรนิกเข้าข้อจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมในปี ค.ศ. 2005 และ 2009 ไม่พบว่าทำให้อาการทางคลินิกดีขึ้น[5][6] การผ่าตัดเปลี่ยนข้อจะทำเมื่อการให้ยาควบคุมอาการปวดไม่ได้ผล
รีวิว
There are no reviews yet