วัตถุประสงค์ ดังนี้…
1. เพื่อส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา กิจกรรมการกุศล การศึกษา และคุณธรรมอันดีในสังคม
2. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ รวมใจไทยช่วยชาติวัฒนธรรมร่วมกับเครือข่ายวัฒนธรรมอื่นๆนำไปสู่การอนุรักษ์ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
3. เพื่อจัดกิจกรรมในวันสำคัญและมอบใบเกียรติคุณแก่ผู้ให้การสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมขององค์กร
ผู้ก่อตั้งองค์กร….
ประวัติ พลตรี หม่อมราชวงศ์ วัยวัฒน์ จักรพันธุ์
นัดดาในสมเด็จพ ระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตร์ รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
1. เกิดวันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2479 ปลายรัชกาลที่ 7 (ต่อกับต้นรัชกาลที่8) ชื่อตั้งแต่เกิดจนจบอุดมศึกษาว่า หม่อมราชวงศ์ จุล จักรพันธุ์ เมื่อพ.ศ. 2489 จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. เป็นลูกคนที่ 8 (ใน 10 คน ) ของ หม่อมเล็ก จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ในพระ วรงศ์เธอ พระองค์เจ้าครุณวัยวัฒน์ ดังนั้นนับตามเชื้อสายพระองค์ จึงเปีน นัดดา ในสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงย์ (พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และนับสูงขึ้นไปอีกจึงเปีน ปนัดดา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
3. หลังจบอุดมศึกษาเป็นอักษรศาสตร์บัณฑิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชทานชื่อเป็น หม่อมราชวงศ์ วัยวัฒน์ จักรพันธุ์ ก่อนวันเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพ.ศ 2488 จึงได้มีชื่อเป็น “วัยวัฒน์” ตลอดมา ตั้งแต่นั้นพร้อมกับการจบหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร
4. เมื่อกลางปี 2498 ทางราชการบรรจุเข้ารับราชการเป็นว่าที่ร้อยตรีเหล่าทหารราบ เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ2488 เลื่อนชั้นอีกทีเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2500 เป็นร้อยตรี
5 . รับราชการทหารนับตั้งแต่นั้นมา โดยเลื่อนยสสูงขึ้นตามลำดับจนถึง ยศพลตรึ จึงเกษียณอายุราชการในยศนี้เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538
6. หน่วยงานราชการทหารที่ได้รับการบรรจุตามลำดับยศ ได้แก่
6.1 ศูนย์การ ทหารราบค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (จังหวัดลพบุรี)
6.2 กรมผสมที่ 5 ค่ายเสนาณรงค์ (อำเภอหาคใหญ่จังหวัดสงขลา)
6.3 กรมยุทธการทหารบก (ณ สาขาศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม)
6.4 กองอำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (สนามเสือป่า)
6.5 กองบัญชาการทหารสูงสุด (ตำแหน่งผู้ชำนาญการ) จนเกษียณ
7. เมื่อยศพันตรี (กรมยุทธก รทหารบก) ได้รับการปลดจากราชการประจำ ไปเป็น “ทหารนิรนาม” ปฏิบัติราชการพิเศษ ณ กองบัญชาการหน่วยผสม 333 (รบในลาว) เป็นเวลา 7 ปี คือพ.ศ 2511 ถึงพ.ศ 2517 จึงกลับเข้ารับราชการประจำ ณ กรมยุทธการทหารบกในยศพันโท เป็นประวัติราชการในสนาม นอกราชอาณาจักรเพื่อต้นคอมมิวนิสต์ที่คุกคาม ราชอาณาจักรลาว ไว้ไม่ให้รุกเข้ามาถึงราชอาณาจักรไทย ผลคือไทยปลอดจากการคุกคามของคอมมิวนิสต์ ด้วยราชการสนามของ “ทหาร นิรนาม” ประเทศของเราพันภัยคอมมิวนิสต์
8. งานต่างๆหลังเกษียณราชการเมื่อ พ.ศ 2538 แล้วมีดังนี้
1. เป็นผู้ช่วยกงสุลกิตติมศักดิ์ แทนซาเนียประจำประเทศไทย (ดร.วัฒนา เขียววิมล เป็นท่านกงสุลกิตติมศักดิ์ )
2. เป็นเลขาธิการสมาคมกำลังสำรองรักษาดินแดนไทย
3. เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ชื่อพรรค ไทยพิทักษ์ไทย พ.ศ 2546 และพ้นหน้าที่เมื่อ พ.ศ 2543
4. เป็นเลขาธิการ มูลนิธิพิทักษ์ไทย
5. เป็นประธาน “องค์กรรวมใจไทยช่วยชาติ” ควบกับตำแหน่งเกียรติยศ “ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ”
9. เป็นผู้สูงอายุที่รับใช้ประชาชนด้วยจิตอาสา พร้อมๆไปกับอุดมการณ์พัฒนาบ้านเมืองให้เป็น”ประเทธรรมาธิปไตย” ( ประชาธิปไตย ที่ดำเนินไปด้วยการ ประสาน โมกธรรมเข้ากับการเมือง ) ปกครองโดยธรรมสนองพระบรมพระราชโองการ “เราจะครองแผ่นดิน โดยธรรมเพื่อให้ประ โยชน์สุข แห่งมหาประชาชนชาวสยาม” หวังให้ประเทศไทยเข้าสู่ความเป็น “แผ่นดินธรรม” และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งสากลในที่สุด นั่นคือคนไทยเป็น”ชาวศรีวิไล” เป็นชาติประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มั่นคงถาวรสืบไปชั่วกาลนาน
10. วรรณกรรมเรื่อง “คู่มือประชาชนบำเพ็ญทศธรรม” กำลังเผยแพร่สู่เพื่อนร่วมชาติ ” โดยองค์กรรวมใจ ไทยช่วยชาติ”สนับสนุน”ธรรมาธิปไตย” ในแผ่นดิน
เอกสารรับรองการจัดตั้งเครือข่ายวัฒนธรรม